วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553



Buckingham Palace
เป็นพระราชวังที่สำคัญของอังกฤษที่สามารถเปิดให้คนเข้าชมได้ ซึ่งภายในพระราชวังจะมีห้องต่างๆ ที่น่าสนใจที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อาทิ ห้องบังลังก์ของกษัตริย์ ห้องแกลลอรี่ ห้องเสวยพระกระยาหาร ซึ่งห้องต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการตกแต่งอย่างงดงามและอลังการ นอกจากนี้ ภายในพระราชวังยังมีสวนที่ได้รับการตกแต่งอย่างดี เหมาะแก่การเดินชมวิวเป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญ คือ การผลัดเปลี่ยนเวร(Changing the Guard) การผลัดเปลี่ยนเวรจะมีขึ้นที่บริเวณ
พระราชวังบักกิ้งแฮม โดยจะเริ่มแสดงเวลา 11.30 น . และจะใช้เวลาแสดงทั้งหมด 40 นาที แต่อาจจะเปลี่ยน


แปลงได้ ในวันที่มีเหตุการณ์สำคัญของเมือง การผลัดเปลี่ยนเวรอาจจะงดได้ในวันที่ฝนตก




วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติ Harrods


แฮร์รอดส์ (อังกฤษ: Harrods) เป็นห้าง สรรพสินค้าหรูหราบนถนน บรอมพ์ตันในเขตไน ท์สบริดจ์ ลอนดอน สห ราชอาณาจักร ตราแฮร์รอดส์ ยังนำไปใช้กับวิสาหกิจอื่นๆ ที่ดำเนินงานโดยกลุ่มบริษัทแฮร์รอดส์ รวมถึงธนาคาร แฮร์รอดส์ แฮร์รอดส์ เอสเตทส์ แฮร์รอดส์ เอเวียชัน และแอร์ แฮร์รอดส์ ห้างตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 18,000 ตารางเมตร มีพื้นที่จำหน่ายสินค้ากว่า 90,000 ตารางเมตรในร้านค้ากว่า 330 ร้าน ห้างเซล ฟริดจ์สบนถนน ออกซ์ฟอร์ดซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร มีขนาดมากกว่าครึ่งหนึ่งของแฮร์รอดส์เล็กน้อย โดยมีพื้นที่จำหน่ายสินค้า 50,000 ตารางเมตร[1] คติพจน์ของ แฮร์รอดส์คือ Omnia Omnibus Ubique - ทุกสิ่งสำหรับทุกคนในทุกแห่ง ร้านค้าหลายร้านภายในห้างมีชื่อเสียงระดับโลก รวมถึงแผนกคริสต์มาสตาม เทศกาลและศูนย์อาหาร แฮร์รอดส์ก่อตั้งขึ้นโดย ชาร์ลส์ เฮนรี แฮร์รอด เมื่อ พ.ศ. 2377 โดยตั้งเป็นร้านขายส่งในเขตสเต ปนีย์ ย่านอีสต์เอนด์ เนื่องด้วยความสนใจเกี่ยวกับชาเป็นพิเศษ ต่อมาใน พ.ศ. 2392 แฮร์รอดได้ซื้อร้านค้าขนาดเล็กแห่งหนึ่งในเขตไนท์สบริดจ์บนที่ตั้งของห้างใน ปัจจุบัน เพื่อหนีความวุ่นวายของเมืองชั้นใน และเพื่อโอกาสทำกำไรจากนิทรรศการใหญ่แสดงผลงานทางอุตสาหกรรมจากทุกพื้นทวีป ที่จัดขึ้นใน พ.ศ. 2394 ใกล้กับสวน สาธารณะไฮด์ โดยตอนแรกเริ่มต้นจากร้านค้าห้องเดียว มีผู้ช่วยสองคนและผู้ส่งสารอีกหนึ่งคน ต่อมาชาร์ลส์ ดิกบี แฮร์รอด ผู้เป็นบุตรชาย ได้ดำเนินกิจการจนกลายเป็นธุรกิจขายปลีกที่เฟื่องฟู จำหน่ายยา น้ำหอม เครื่องเขียน ผลไม้ และผัก แฮร์รอดส์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง พ.ศ. 2423 ได้ซื้ออาคารที่อยู่ติดกันและจ้างพนักงานหนึ่งร้อยคน เมื่อต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2426 ตัวอาคารได้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้กิจการที่กำลังเจริญรุ่งเรืองต้องถดถอยลง แต่กระนั้น ชาร์ลส์ แฮร์รอด ยังคงบริการส่งสินค้าแก่ลูกค้าในเทศกาลคริสต์มาสในปีนั้น และทำกำไรได้อย่างดี อาคารใหม่ถูกสร้างขึ้นบนตำแหน่งเดิม และในเวลาไม่นานแฮร์รอดส์ก็ได้รับความเชื่อถือมากขึ้นจากลูกค้าชั้นนำ เช่น ออสการ์ ไวลด์ ลิ ลลี แลงทรี นักแสดงหญิงระดับตำนาน เอ ลเลน เทอร์รี Noël Coward ซิก มุนด์ ฟรอยด์ เอ. เอ. ไมลน์ และสมาชิกราชวงศ์ อังกฤษหลายพระองค์

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553


ภาษาจีนกลาง อ่านว่า เตี่ยนซิน หรือที่คนไทยเราคุ้น เรียกกันตามภาษาจีนกวางตุ้งว่า ติ่มซำ แปลว่าขนม การกินติ่มซำเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของชาวจีนกวางตุ้ง ซึ่งกำเนิดอาศัยในมณฑลกวางตุ้งทางใต้ของจีน เดิมนั้นนิยมละเลียดติ่มซำตั้งแต่เช้า เดินเข้าไปในร้าน หยิบหนังสือพิมพ์มาฉบับ สั่งน้ำชาโป๋วเหวล (ชาดำๆที่หมักมาอย่างดีเป็นชาโปรดประจำของคนกวางตุ้ง) สั่งซาลาเปาเข่งหนึ่ง ขนมจีบเข่งหนึ่ง บรรยากาศนั่งคุย คีบขนมจีบแกล้มน้ำชา บ้างก็นั่งจิบชาอ่านหนังสือพิมพ์... เป็นทั้งอาหารเช้า และอาหารว่าง
ติมซำ ถือกำเนิดที่เมืองกวางตุ้ง มีตำนานเล่ากันว่าในสมัยก่อนนั้นมีนักเดินทางตามเส้นทางสายไหมมักจะหาสถานที่เพื่อแวะพักผ่อนระหว่างการเดินทาง ดังนั้นบนเส้นทางสายไหมจึงเต็มไปด้วย " ร้านน้ำชา"หรือ "Yum Cha" เพื่อต้อนรับอาคันตุกะนักเดินทางแปลกหน้าเป็นประจำ
ขณะเดียวกันชาวนาตามชนบทเมื่อทำงานเหนื่อยล้าก็จะแวะพักผ่อนและดื่มน้ำชายามบ่ายตามร้านน้ำชาเหล่านี้ ขณะที่ดื่มน้ำชาก็จะต้องมีอาหารกินเล่นเพื่อกินคู่กับน้ำชา บรรดาเจ้าของร้านจึงเริ่มคิดหาอาหารกินเล่นต่าง ๆ ขึ้นมา จึงเป็นที่มาของติมซำในเวลาต่อมา ด้วยความที่เป็นอาหารกินง่ายและรสชาติแปลกใหม่ ติมซำจึงกลายเป็นอาหารที่นิยมไปทั่วโลก
คำว่า "ติมซำ" มาจากภาษากวางตุ้ง แปลว่า Touch The Heart หมายถึง
การทำอาหารคำเล็กคำน้อยที่นอกจากจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังต้องใช้ฝีมือประดิษฐ์ปะดอยให้สวยงาม น่าลิ้มลอง และอร่อย ดังนั้นหัวใจสำคัญในการทำติมซำให้อร่อยนั้นคือ จะต้องใส่ใจลงไปกับติมซำทุกคำนั่นเอง
เมื่อติมซำเริ่มมาจากความคิดสร้างสรรค์ดังนั้นรูปแบบของอาหารชนิดนี้จึงมีการพัฒนารูปแบบออกไปมากมายไม่มีที่สิ้นสุด เมนูติมซำจึงมีความหลากหลายเป็นพัน ๆ ชื่อ แล้วแต่ว่าเชฟคนไหนจะคิดเมนูอะไรขึ้นมา ซึ่งจะต้องอยู่ในกระบวนการ นึ่ง อบ ทอด แช่เย็น เป็นต้น
แต่การทำติมซำนั้นกลับไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เชฟหยิบ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจีน ได้กล่าวถึงอาชีพเชฟติมซำว่าจะทำเฉพาะติมซำเท่านั้น ไม่ปะปนกับเชฟทำอาหารทั่วไป แต่กว่าจะมาเป็นเชฟทำติมซำได้นั้นจะต้องผ่านการฝึกฝนมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี
"คนที่จะทำติมซำให้เก่งจริง ๆ นั้นจะต้องฝึกทำติมซำมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี กว่าจะตบแป้งฮะเก๋าให้บางได้นั้นอย่างน้อยก็ฝึกมืออยู่ถึง 2 ปีแล้ว เพราะฮะเก๋าถือเป็นติมซำที่ทำยากที่สุด คือเนื้อแป้งจะต้องเนียนและบางเท่ากันทั้งแผ่นจะจีบฮะเก๋านั้น 2 วันก็หัดจีบเป็นแล้ว แต่จะจีบให้สวยให้ได้ 13 จีบนั้นก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน อย่างซาลาเปาที่เป็นฝีมือเชฟติมซำนั้น ทุกลูกจะต้องมีน้ำหนักเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นแป้งหรือไส้จะต้องชั่งน้ำหนักพอดีเป๊ะ และปั้นให้ ไส้อยู่ตรงกลางทั้งนี้อยู่ที่ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของเชฟแต่ละคนที่จะไปพลิกแพลงกุ้งกับแป้งให้ออกมาหน้าตาเป็นอย่างไรก็สุดแล้วแต่"
วัฒนธรรมการกินติ่มซำ คนจีนจะกินติ่มซำจะคู่กับน้ำชามาตั้งแต่โบราณแล้ว ที่ประเทศฮ่องกงเมื่อหลายสิบปีก่อนนั้น ชาวฮ่องกงจะนิยมกินติมซำในช่วงสาย ๆ โดยบรรดาเศรษฐีมีเงินทั้งหลายมักจะนิยมหิ้วกรงนกเขามาอวดกันที่ร้านกาแฟ ขณะที่รอเพื่อน ๆ อยู่นั้นก็จะนำกรงนกเขามาแขวนอยู่หน้าร้าน แล้วก็สั่งติมซำมานั่งกินรองท้องก่อนสัก 2 - 3 เข่ง เมื่อพรรคพวกมากันพร้อมแล้วถึงจะเริ่มสั่งอาหารจานหลักอย่างอื่น ๆ กินเพื่อให้อิ่มท้องกันต่อไป แต่ปัจจุบันจะตามภัตตาคารและร้านอาหารทั่วไปจะเสิร์ฟเมนูติมซำในมื้อกลางวัน และโดยมากไม่นิยมกินติมซำในมื้อเย็น แม้คนกวางตุ้งกินติ่มซำตอนเช้า แต่ถ้าช่วงบ่ายๆ มีแขกมา ก็จะเอาติ่มซำเสิร์ฟเป็นอาหารว่างรับรองแขก ไม่ได้กินเพื่ออิ่ม อีกด้านหนึ่ง ติ่มซำจึงเป็นวัฒนธรรมของชาวกวางตุ้งชนชั้นสูง ที่มักจัดเตรียมติ่มซำไว้รับรองแขกผู้มีเกียรติ
ปัจจุบัน ติ่มซำยังเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่ง ในการรับรองต้อนรับ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาธุรกิจ เลี้ยงลูกค้า และการจัดคู่นัดดูตัวระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง ข้อแรก การกินติ่มซำต้องใช้เวลา ค่อยๆ เลือก ค่อยๆ สั่ง ค่อยๆ คีบ.. ละเลียดเคล้าการจิบชา ทำให้การสนทนาไม่รีบร้อนมีเวลาพูดคุยถามไถ่ดูเชิงเรียนรู้ กันและกัน ขณะเดียวกัน หลังจากละเลียดติ่มซำรองท้องแล้ว ค่อยสั่งอาหารหลัก อย่างก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ปลานึ่งซีอิ๋ว หรือหูปลาฉลาม คล้ายกับเป็นการโชว์ว่าจะเลี้ยงติ่มซำและตบท้ายด้วยก๋วยเตี๋ยว หรือเลี้ยงติ่มซำแล้วสั่งหูฉลามต่อ ข้อหลังนี้ มีความหมายถึงการให้เกียรติ ความสำคัญซึ่งกันและกัน

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

อันตรายจากมะนาวเทียม


ใครที่ชอบทานส้มตำคงคุ้นตาดีกับภาพแม่ค้าขายส้มตำปรุงรสด้วยน้ำมะนาวสีเขียวใสๆ ที่บรรจุอยู่ในขวดแก้ว น้ำมะนาวที่เห็นนั้นเรียกว่าน้ำมะนาวเทียมหรือเกร็ดมะนาว ให้มีรสเปรี้ยวแหลม ราคาถูก อีกทั้งยังมีสีสันคล้ายคลึงกันกับน้ำมะนาวจริงเกือบทุกประการสิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ที่ทานน้ำมะนาวเทียมเป็นประจำก็คือ เครื่องปรุงรสดังกล่าวผลิตมาจากกรด “ซิตริก” ซึ่งถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีความบริสุทธิ์น้อยและมีสารปนเปื้อน ที่สำคัญคือ สามารถย่อยสลายสิ่งต่างๆได้ ไม่เว้นแม้แต่อวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารของผู้บริโภค ผู้ที่ชื่นชอบอาหารรสแซบทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ส้มตำ หรือแม้แต่น้ำหวานหรือไอศกรีมรสมะนาวต้องคอยสังเกตวัตถุดิบที่พ่อค้าแม่ค้าใช้ดูให้ดีนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของอาหารที่มีสารปนเปื้อน ในความเป็นจริงแล้ว อาหารต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม และมุ่งหวังผลประโยชน์การค้าเป็นสำคัญ ล้วนมีสารพิษชนิดใดชนิดหนึ่งที่เจือปนอยู่ทั้งนั้น นับเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่งของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ไม่อาจสืบทราบ ที่มา ตลอดจนเส้นทางการเดินทางของอาหารที่ตนทานได้หนทางป้องก้น จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน หรือใช้วิธีการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน หรือใช้วิธีการรับประทานอาหารเหล่านี้หมุนเวียนสับเปลี่ยนทานอาหารให้ได้หลากหลายประเภทโดยไม่ซ้ำหน้ากัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงสะสมในการรับและสะสมสาร พิษภายในร่างกายลงได้