วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

อันตรายของสารกัมมันตรังสี


อันตรายของกัมมันตภาพรังสี และ การแผ่รังสีไม่เป็นที่ทราบในระยะแรก ผลเฉียบพลันของการแผ่รังสีค้นพบในการใช้รังสีเอ็กในขณะที่วิศวกร นิโคลา เทสลา ตั้งใจเอานิ้ววางเพื่อถ่ายรังสีเอ็กในปี พ.ศ. 2439 เขาได้รายงานผลการศึกษาที่ระบุถึงอาการไหม้ที่เกิดขึ้น ซึ่งเข้าระบุว่าเกิดจากโอโซนมากกว่าที่เกิดจากรังสีเอ็ก อาการบาดเจ็บของเขาหายในที่สุด ผลเชิงพันธุกรรมจากการแผ่รังสี รวมถึงโอกาสในการก่อมะเร็ง ค้นพบหลังจากนั้นมาก ในปี พ.ศ. 2470 เฮอร์แมนน์ โจเซฟ มุลเลอร์ (อังกฤษ: Hermann Joseph Muller) เผยแพร่ผลการวิจัยที่แสดงถึงผลเชิงพันธุกรรม และในปีพ.ศ. 2489 เขาได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบนี้ก่อนหน้าที่จะทราบผลทางชีววิทยาของการแผ่รังสี แพทย์ และ บริษัทหลายแห่งได้เริ่มทำตลาดสารกัมมันตรังสีในฐานะของยาเถื่อน (patent medicine - หมายถึง ยาที่ไม่ระบุถึงส่วนผสมไม่มีการจดทะเบียน ไม่มีการตรวจสอบสรรพคุณทางยา เน้นการทำตลาดเป็นหลัก และมักมีการโอ้อวดเกินจริง) และ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารกัมมันตรังสี (radioactive quackery - ใช้คำที่คล้ายคลึงกับยาเถื่อน หรือ ยาปลอม) ตัวอย่างเช่น ยาสวนทวาร (Enema) ที่มีส่วนประกอบของเรเดียม, น้ำที่มีส่วนผสมของเรเดียมที่ใช้ดื่มคล้าย โทนิค (tonic) มารี กูรี ต่อต้านการใช้ในลักษณะนี้ และเตือนเกี่ยวกับผลของรังสีที่มีต่อร่างกายมนุษย์ที่ยังไม่ทราบ (ในที่สุดกูรีเสียชีวิต จากอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ทำงานกับเรเดียม อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบกระดูกของเธอในภายหลัง พบว่าเธอเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ระมัดระวังตัว และพบปริมาณเรเดียมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีการค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตของเธอ ซึ่งเกิดจากการได้รับรังสีเอ็กซ์จากหลอดรังสีที่ไม่ได้มีการป้องกัน ขณะที่เป็นอาสาสมัครในหน่วยแพทย์ ในสงครามโลกครั้งที่1) ในปี พ.ศ. 2473 พบกรณีที่เกิดกระดูกตาย และ การเสียชีวิตจำนวนมากในผู้ใช้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรเดียมแทบจะหายไปจากตลาด

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

เมืองลุงแซม


บ่อยครั้งที่ได้ยินคนใช้คําว่า "ลุงแซม" แทนคําว่าสหรัฐอเมริกา เช่น เมืองลุงแซม มีใครเคยสงสัยไหมว่า "ลุงแซม" น่ะมีตัวตนจริงหรือเปล่าความจริงแล้วเรื่องมันมีที่มาว่า ระหว่างการสงครามเมื่อปี 1812 นายแซมวล วิลสัน แห่งเมืองทรอย นิวยอร์ค เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้บรรจุเนื้อเค็มลงถังส่งไปให้ทหารแนว หน้า ซึ่งก่อนที่จะส่งไปนั้น วิลสัน จําเป็นจะต้องตรวจสอบให้เรียบร้อย ดังนั้น เพื่อแสดงว่าเขาได้ตรวจสอบเนื้อเค็มแล้ว วิลสันได้ประทับอักษร "U.S." ลงบนแผ่นเนื้อ เพื่อระบุว่ามันเป็นของรัฐบาล แต่เพื่อนบ้านของวิลสันผู้ชอบเรียกเขาว่า "ลุงแซม" กลับไปตีความหมายว่าเป็นชื่อย่อของ "Uncle Sam Wilson"หลายปีผ่านไป หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งสร้างรูปการ์ตูนชื่อ "ลุงแซม" เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลอเมริกัน และภาพนั้นก็แพร่หลายยิ่งขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยโชว์รูป "ลุงแซม" ไว้ในดาวและแถบของธงสหรัฐ การ์ตูน ลุงแซมที่ดังมากคือ รูปนิ้วชี้แล้วพูดว่า "ผมต้องการคุณเพื่อนกองทัพบกสหรัฐ"