วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Korat

Korats are a slate blue-grey shorthair domestic cat with a small to medium build and a low percentage of body fat. Their bodies are semi-cobby, and surprisingly heavy for their size. They are intelligent, playful,active cats and form strong bonds with people. Among Korats' distinguishing characteristics are their heart-shaped heads and large green eyes. They are one of a few breeds where individuals have only one color.

The Korat is one of the oldest stable cat breeds. Originating in Thailand, it is named after theNakhon Ratchasima province (typically called "Korat" by the Thai people). In Thailand it is known as Si-Sawat, meaning "Color of the Sawat Seed".They are known colloquially as the "Good Luck Cat" and are given in pairs to newlyweds or to people who are highly esteemed, forgood luck. Until recently, Korats were not sold, but only given as gifts.

The modern Korats now exist due to the diligent efforts of a few breeders inside and outside of Thailand.

The first mention of the Korat is in "The Cat-Book Poems" authored between 1350 and 1767 AD in Thailand, now in the National library in Bangkok.However, the illustration of the Korat in this book is not detailed enough to be definitive as to the breed portrayed. In recent years the Korat was on postage stamp in Thailand. An example hangs in the city of Korat's post office.

Korats first appeared in Britain under the name "Blue Siamese" in 1889 and 1896, but as these solid blue cats did not conform to the cat show judges' perception of a Siamese cat they disappeared by 1901. One early import, "Dwina" owned by Russian Blue breeder Mrs Constance Carew-Cox and mentioned in Frances Simpson's "The Book of the Cat" (1903) produced a a large number of "Siamese" kittens, while the other, Mrs Spearman's Blue Siamese male, "Nam Noi", was declared to be a Russian Blue by cat show judges (WR Hawkins, "Around the Pens" July 1896). Mrs Spearman tried unsuccessfully to import more of these "Blue Siamese".

Korats first appeared in America in the 1950s and arrived in Britain from there in 1972. Jean Johnson introduced Korats to the US in 1959. She had lived in Thailand, where she encountered the breed. Her first pair were named Nara (male) and Dara (female).The Korat was introduced to the UK by Betty Munford of The High Street, Hungerford.

Although it is rare, Korats occasionally have striking or faint white markings or spots or even very faint gray stripes. Sometimes these spots increase in size with age. These are seen as flaws, and the cats are not allowed to be displayed in cat shows, although of course it has no effect on their personality or health.

The Governing Council of the Cat Fancy recognizes Korat type cats differing from the traditional solid blue appearance of the Korat. Such cats can be either Thai Lilacs, which are solid lilac cats, or Thai Pointed, which have the colour-point pattern also seen in Siamese. The official registration policy for Korats allows kittens to be registered as Thai if they are born to Korat parents, Thai parents or to one of each. It also requires genetic testing for gangliosidosis to be carried out to ensure that the breed remains free of this inherited disease which once existed in Korat and Thai breeding lines.

The genes responsible for Pointeds and Lilacs were introduced into the Korat breed when new Korat breeding stock carrying the recessive genes was imported from Thailand. The first recorded Thai Lilac kitten was born to the Jenanca line in 1989, when 'Jenanca Lilac Lillee' was born from two Korat parents in the UK. In 1990 Lillee's parents were re-mated with more lilac kittens resulting. More importantly, a young male lilac was born to another pair also in the UK. This serendipitous event allowed more crossings to occur without inbreeding too closely.


วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลูกอมใส่สีมีอันตราย


ลูกอม เป็นขนมหวานประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในบรรดาเด็ก ๆ และวัยรุ่น
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการจำหน่ายในท้องตลาดกันอย่างกว้างขวาง ลองมาศึกษาเกร็ดน่ารู้
ต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกอมกันดังต่อไปนี้
ความหมายของลูกอม
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 228) พ.ศ.2544 เรื่อง หมากฝรั่งและลูกอม
ได้ให้ความหมายของลูกอมไว้ว่า หมายถึง "ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้อมหรือเคี้ยว ที่มีการแต่งรสใด ๆ
มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และอาจมีส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อปรุงแต่งกลิ่นรสด้วยหรือไม่ก็ได้"
ประเภทของลูกอม
ลูกอมแบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้ 3 ประเภท คือ
  1. ลูกกวาด (Hard candy) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะแข็ง เมื่อเคี้ยวจะแตก อาจมีการ
    สอดไส้ด้วยก็ได้ ซึ่งผลิตโดยการละลายน้ำตาล กลูโคสไซรัป น้ำ นำมาเคี่ยวจนได้ที่
    นวดผสมกัน แล้วรีดอัดเป็นเม็ด
  2. ขนมเคี้ยว (Chewy candy) ได้แก่ คาราเมล (Caramels) ท๊อฟฟี่ ลักษณะจะนิ่มจน
    ถึงค่อนข้างแข็ง ผลิตโดยการนำน้ำตาลกลูโคสไซรัป น้ำ ไขมัน หรือส่วนประกอบอื่น
    ปั่นให้เข้ากันจนมีลักษณะเป็นอิมัลชั่นก่อน จึงนำมาเคี่ยวจนได้ที่ นวดผสม และรีด
    อัดเม็ด
  3. ซอฟต์แคนดี้ (Soft candy) ได้แก่ ครีม (Creams), ฟัดส์ (Fudges), มาร์ชแมลโล
    (Marshmallow) ผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะนิ่มอ่อนตัวมากกว่าขนมเคี้ยว เนื่องจากมี
    ปริมาณความชื้นมากกว่า
ส่วนประกอบที่สำคัญของลูกอม
ลูกอมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ สารให้ความหวาน, สารแต่งรสหรือ
กลิ่น, สารแต่งสี และอื่น ๆ
  • สารให้ความหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย กลูโคสไซรัป รวมทั้ง น้ำตาล แอลกอฮอล์ เช่น
    ซอร์บิทอล แมนนิทอล โดยจะมีผลต่อความหวาน รวมทั้งความใสของลูกอมด้วย
  • สารแต่งรสหรือกลิ่น ได้แก่ วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งที่เป็นธรรมชาติ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส
    น้ำมันจากเปลือกส้ม หรือจากการใช้สารเคมีผสมให้เกิดกลิ่นที่ต้องการ เช่น ครีมโซดา
    กลิ่นองุ่น หรือส่วนประกอบที่แต่งกลิ่นรสได้ เช่น กาแฟผง หรือนมผง ในลูกอมรส
    กาแฟ หรือท๊อฟฟี่นม เป็นต้น
  • สารแต่งสี ลูกอมโดยปกติจะเกิดสีน้ำตาล อันเนื่องจากความร้อน ที่ใช้ในการผลิตในช่วง
    เคี่ยวน้ำตาล แต่บางครั้งผู้ผลิตจำเป็นต้องใส่สีต่าง ๆ เพื่อดึงดูดใจของผู้ซื้อ เช่น แต่ง
    สีแดง สำหรับลูกอมกลิ่น สตรอเบอร์รี่ เป็นต้น
  • ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ กรดอินทรีย์ กรดที่นิยมใช้ในการผลิตลูกอม ได้แก่ กรดซิตริก
    กรดตาร์ตาริก และกรดมาลิก โดยใช้เพื่อควบคุมความหวาน แต่งรสและยืดอายุการเก็บ
    ผลิตภัณฑ์
จากส่วนประกอบของลูกอมดังกล่าวข้างต้น มีเรื่องที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค
ได้แก่ ในเรื่องของสารแต่งสีในลูกอม ซึ่งสีที่ใช้ผสมในลูกอมตามกฎหมายแล้วผู้ผลิต
จะต้องใช้สีที่ได้จากธรรมชาติหรือสีผสมอาหาร ซึ่งการใช้สีผสมอาหารนั้นก็ต้องใช้
ตามปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีผู้ผลิตบางรายรู้เท่า
ไม่ถึงการณ์ แทนที่จะใช้สีผสมอาหารผสมในลูกอม อาจจะใช้สีที่มิใช่สีผสมอาหาร
เช่น สีย้อมผ้า สีย้อมกระดาษ สีย้อมเส้นใยต่าง ๆ ผสมในลูกอม ซึ่งสีเหล่านี้เป็นสีที่
กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เนื่องจากมีความบริสุทธิ์ต่ำและมีโลหะหนัก
เจือปนอยู่ในปริมาณสูง หากสะสมในร่างกายมาก ๆ ในปริมาณหนึ่งก็จะเกิดอันตราย
ได้ นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะใช้สีผสมอาหาร แต่ใช้เกินปริมาณที่กฎหมาย
กำหนดไว้ กรณีเช่นนี้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน
สีที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ผสมในขนมเด็กมี 2 ชนิด
  1. สีจากธรรมชาติ เป็นสีที่ได้จากพืช จึงเป็นสีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับใช้ผสม
    ในขนมเด็ก เพื่อให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เช่น สีเขียวจากใบเตย
    ตัวอย่างสีจากธรรมชาติ
    * สีเขียว ได้จาก ใบเตย ใบย่านาง
    * สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ฟักทอง ดอกกรรณิการ์
    * สีแดง ได้จาก ครั่ง ดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศสุก พริกแดง
    * สีน้ำเงิน ได้จาก ดอกอัญชัน
    * สีดำ ได้จาก ดอกดิน กาบมะพร้าวเผา
    * สีน้ำตาล ได้จาก น้ำตาลเคี่ยวไหม้ เนื้อในเมล็ดโกโก้
    * สีม่วง ได้จาก ดอกอัญชัน ถั่วดำ
  2. สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี เนื่องจากการใช้สีธรรมชาติอาจ
    ไม่สะดวก จึงได้มีการผลิตสีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารแทนการใช้สีจาก
    ธรรมชาติแม้กฎหมายกำหนดอนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยครั้ง ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ ร่างกายได้
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาต
    ให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้
    (2.1) สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้
    บริโภค 1 กิโลกรัม

    * สีแดง ได้แก่ - เอโซรูบีน , เออริโทรซิน
    * สีเหลือง ได้แก่ - ตาร์ตราซีน , ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
    * สีเขียว ได้แก่ - ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
    * สีน้ำเงิน ได้แก่ - อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน
    (2.2) สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้ บริโภค 1 กิโลกรัม
    * สีแดง ได้แก่ - ปองโซ 4 อาร์
    * สีน้ำเงิน ได้แก่ - บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
อันตรายจากสีที่ไม่อนุญาตให้ใช้ผสมอาหาร
สำหรับสีที่ไม่อนุญาตให้ใช้ผสมอาหาร เช่น สีย้อมผ้า ฯลฯ จะมีโลหะหนักปะปนอยู่ซึ่ง
เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้
  1. อันตรายจากพิษของตัวสีเอง สีต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นสีผสมอาหาร ส่วนใหญ่มักจะเป็นสี
    ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง หรือเนื้องอกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยเฉพาะที่ระบบทาง
    เดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ
  2. อันตรายที่เกิดจากสารไม่บริสุทธิ์ในสีนั้นๆ สิ่งที่สำคัญ คือ โลหะหนัก เพราะสีส่วนใหญ่
    จะมีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ เช่น โครเมี่ยม ตะกั่ว สารหนู ปนอยู่เสมอ การได้รับ
    โลหะหนักเข้าไปในร่างกายมาก ๆ หรือเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ เช่น ถ้า
    ได้รับสารตะกั่วนาน ๆ จะทำให้เกิดโลหิตจาง และเป็นโรคพิษตะกั่ว
เมื่อผู้บริโภคทราบแล้วว่า ลูกอมที่มีสีสันสวยงามชวนให้บริโภคนั้น แม้จะใช้สีผสม
อาหาร ซึ่งเป็นสีที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ใส่ในอาหารได้ แต่ก็มีข้อกำหนดในเรื่องของ
ปริมาณสีที่ให้ใช้ตามความเหมาะสม หากใช้เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ก็อาจเกิด
อันตรายต่อผู้บริโภคได้ นอกจากนี้หากผู้ผลิตไม่ใช้สีผสมอาหารแต่ใช้สีอื่น ๆ ที่มิใช่
สีผสมอาหารก็ยิ่งอันตรายมากขึ้น ดังนั้น การที่จะบริโภคลูกอมต่าง ๆ ก็ควรที่จะ
เลือกชนิดที่มีสีอ่อน ๆ หรือถ้าเป็นไปได้ควรเลือกที่ไม่มีสีเลยจะดีกว่า
การเลือกซื้อลูกอม
ในการเลือกซื้อลูกอม ควรดูที่ฉลากเป็นสำคัญ ว่ามีเครื่องหมาย อย. หรือไม่
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 96 (พ.ศ.2528) เรื่อง การแสดงฉลาก
ของหมากฝรั่งและลูกอม นั้น ฉลากของลูกอมที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคต้องมี
ข้อความเป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และจะต้องมีข้อความแสดง
รายละเอียดดังต่อไปนี้
  1. ชื่ออาหาร
  2. เลขทะเบียนตำรับอาหาร (ถ้ามี)
  3. ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือของผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี
    หมากฝรั่งและลูกอมที่ผลิตในประเทศ อาจแสดงสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือ
    ของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ สำหรับหมากฝรั่งและลูกอมที่นำเข้าให้แสดงประเทศผู้ผลิตด้วย
  4. น้ำหนักสุทธิเป็นระบบเมตริก
  5. ปริมาณของน้ำตาล/หรือวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นร้อยละของน้ำหนัก
  6. เดือนและปีที่ผลิต โดยมีคำว่า "ผลิต" กำกับไว้ด้วย
  7. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)
  8. ข้อความว่า "เจือสีธรรมชาติ" หรือ "เจือสีสังเคราะห์" ถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี
  9. ข้อความว่า"แต่งกลิ่นธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นสังเคราะห์"
    "แต่งรสธรรมชาติ" หรือ "แต่งรสเลียนธรรมชาติ" ถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี
  10. ข้อความว่า "ใช้วัตถุกันเสีย" ถ้ามีการใช้
  11. ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
สำหรับฉลากที่ปิด หรือติด หรือแสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุที่ใส่หรือห่อ หรือสัมผัสโดยตรง
กับอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอาจอนุญาตให้แสดงเฉพาะข้อความ
ตาม 1, 2, 3, 5 และ 10 ก็ได้
นอกจากการดูฉลากเป็นสำคัญแล้ว การเลือกซื้อลูกอมผู้บริโภคควรสังเกตภาชนะ
บรรจุ ไม่ว่าจะเป็นกล่อง ห่อ ซอง จะต้องสะอาด ไม่เก่าหรือฉีกขาด ถ้าเป็นพลาสติก
ส่วนที่สัมผัสกับลูกอมจะต้องไม่มีสี เมื่อเลือกซื้อลูกอมมาได้แล้ว ขณะที่รับประทานก็
ควรสังเกตด้วย ซึ่งลูกอมที่ดีต้องไม่มีกลิ่น รส ผิดปกติ การเก็บลูกอมก็สำคัญเช่นกัน
ควรเก็บไว้ในที่เย็น ไม่อับชื้น ตลอดจนป้องกันแมลงและสัตว์อื่นๆ ที่จะมาแทะลูกอมได้


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554


มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.

สรรพคุณ

มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  • ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
  • ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง
  • ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง
  • ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)
  • เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
  • ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma

คุณค่าทางอาหาร

  • ใบ ใบสดใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามิน เอ สูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่านม มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามี ซี สูงกว่าส้มและมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย
  • ดอกฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัดHelminths ป้องกันมะเร็ง
  • ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม
  • เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร
  • การปรุงอาหาร ในประเทศไทย ฤดูหนาวจะมีมะรุมจำหน่ายทั่วไป ทั้งตลาดในเมืองและในท้องถิ่น คนไทยทุกภาครับประทานมะรุมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้ม และนำดอกมะรุมลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสาน ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิ ยังรับประทานฝักมะรุมอ่อนสด เป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่าฝักมะรุมอ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อน ฝักอ่อนไปแกงกับปลา ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหาร น้ำใบมะรุมอัดกระป๋อง

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันแม่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน ต่อมามีการเปลี่ยนกำหนดงานวันแม่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนโดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน


ด้วยเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่
ก็เนื่องจาก คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ
นอกจากนี้ มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี

ดอกมะลิ จึงกลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล วันแม่ ซึ่งเป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้กำเนิดเป็นพิเศษ และไม่ว่าจะเลือกดอกมะลิพันธุ์ใด ที่มีประมาณ 10 กว่าพันธุ์ หรือ ซื้ออะไรให้แม่ก็ตาม มันก็ไม่สำคัญเท่าความรู้สึกลึก ๆในหัวใจ ของแตละคนที่จะมอบความรัก ต่อแม่ทุกๆวัน และ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า รักแม่ กอดแม่ ให้ความสุขกับท่านทุกวัน" เพื่อให้ท่านได้ชื่นใจ เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ผ่านภาพ และเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า ลูกรักแม่ วันแม่ปีนี้อย่าลืมทำให้แม่ผู้มีพระคุณได้มีความสุขกัน

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปากยาว ๆ ของตัวกินมดมีเอาไว้ทำไม?


ก็เพราะว่าดวงตาของตัวกินมด มีขนาดเล็กมากและมองเห็นได้ไม่ชัดน่ะสิ พวกมันจึงต้องใช้ปากยาว ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับงวงของช้าง สูดกลิ่นอากาศและดินเพื่อหาอาหารโปรดของก็คือมดแต่จริง ๆ แล้วพวกมันน่ะไม่ได้กลิ่นของมดหรอก เพราะว่า มดมันไม่มีกลิ่นน่ะสิ!!! แต่ที่พวกมันสามารถหามดและรังมดเจอก็เพราะกลิ่นน้ำลายแห้ง ที่มดใช้สร้างรังต่างหาก

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554


The summer solstice occurs exactly when the Earth's semi-axis in a given hemisphere is most inclined towards the sun, at its maximum tilt of 23° 26'. Though the summer solstice is an instant in time, the term is also colloquially used like Midsummer to refer to the day on which it occurs. Except in the polar regions (where daylight is continuous for many months), the day on which the summer solstice occurs is the day of the year with the longest period of daylight. The summer solstice occurs in June in the Northern Hemisphere north of the Tropic of Cancer (23°26'N) and in December in the Southern Hemisphere south of the Tropic of Capricorn (23°26'S). The Sun reaches its highest position in the sky on the day of the summer solstice. However, between the Tropic of Cancer and the Tropic of Capricorn, the highest sun position does not occur at the summer solstice, since the sun reaches the zenith here and it does so at different times of the year depending on the latitude of the observer. Depending on the shift of the calendar, the summer solstice occurs some time between December 21 and December 22 each year in the Southern Hemisphere, and between June 20 and June 21 in the Northern Hemisphere.

Worldwide, interpretation of the event has varied among cultures, but most have held a recognition of sign of the fertility, involving holidays, festivals, gatherings, rituals or other celebrations around that time.

The word solstice derives from Latin sol (sun) and sistere (to stand still).

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทับทิม



ทับทิม มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Punica granatum L.วงศ์ Punicaceae ภาษาอังกฤษเรียก Pomegranateชาวเชียงใหม่และภาคเหนือทั่วไปเรียก มะก้อ ชาวน่านเรียก มะก่องแก้ว ชาวแม่ฮ่องสอนเรียก หมากจัง ชาวหนองคาย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เรียก พิลา ชาวจีนเรียก เซี๊ยะลิ้ว ชาวสเปนเรียก Granada ส่วนชาวอินเดียเรียก Darim


ทับทิม มีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อของเอเชียตะวันตกกับตอนบนของเอเชียใต้ คือบริเวณตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมคงเป็นพืชที่ได้รับความนิยมมากว่าพันปีแล้ว จึงมีการปลูกแพร่กระจายออกไปทั้งในเขตร้อน (tropical) และกึ่งร้อน (Sub-tropical) ของทวีปเอเชีย ยุโรป รวมทั้งในทวีปแอฟริกาด้วยทับทิม มีบทบาทอย่างมากในตำนานต่างๆ ของหลายประเทศ เป็นสัญลักษณ์ของการเกิด ความสามารถในการเจริญพันธุ์ ชีวิตชั่วนิรันดร์ และความตาย เพราะทับทิมมีเมล็ดมากมาย ชาวกรีกใช้ทับทิมในงานแต่งงานเป็นสัญลักษณ์ของการดำรงเผ่าพันธุ์ ชาวยิวถือว่าทับทิมเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฮินดูเชื่อ ว่า ทับทิมเป็นผลไม้โปรดของพระพิฆเณศจึงนิยมนำผลทับทิมไปถวาย และใช้ดอกทับทิม บวงสรวงบูชาพระอาทิตย์ พระนารายณ์ และเทวีลักษมี อีกด้วย ชาวจีน ถือว่าต้นทับทิมเป็นไม้มงคลโดยเฉพาะทับทิมชนิดดอกสีขาวและเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความอุดมสมบูรณ์ ความมีลูกหลานมากมายเนื่องจากผลทับทิมมีเมล็ดมาก กิ่งใบทับทิมเป็นไม้มงคลที่ใช้ทุกงาน มีการปักยอดทับทิมไว้ที่สิ่งของเซ่นไหว้เจ้า ใช้พรมน้ำมนต์และมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย


ประโยชน์


เมล็ดทับทิมเป็นผลไม้มีรส หวานหรือเปรี้ยวอมหวาน น้ำคั้นจากเมล็ดทับทิมมีกลิ่นหอมชวนดื่ม ประกอบด้วยน้ำตาลและกรดที่เป็นประโยชน์ รวมถึงวิตามินเอ ซี อี ธาตุเหล็ก แคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการ ทับทิมถูกใช้เป็นยาพื้นบ้านของชาวอิหร่านและอินเดียมาแต่โบราณ น้ำต้มเปลือกทับทิมใช้แก้เจ็บคอ ยาพอกจากใบใช้พอกหนังศีรษะลดอาการผมร่วง น้ำคั้นเมล็ดทับทิมใช้ลดความร้อนในร่างกาย เชื่อว่าช่วยล้างระบบต่างๆ ของร่างกายและเหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์อีกด้วย ชาวอาหรับใช้เปลือกรากทับทิมสดๆ ต้มน้ำ ดื่มถ่ายพยาธิตัวตืด เปลือกจากลำต้นทับทิม ต้มน้ำใช้ถ่ายพยาธิชนิดต่างๆ ร่วมกับยาถ่าย ใช้เปลือกผลทับทิมผสมกานพลูและฝิ่นรักษาโรคบิดและท้องร่วงอย่างแรง ชาวอินเดียใช้น้ำคั้นจากผลทับทิมและดอกทับทิม ปรุงยาธาตุ ใช้สมานลำไส้ และแก้ท้องเสีย เมล็ดทับทิมใช้บำรุงหัวใจ ประเทศไทย แพทย์แผนโบราณใช้ทับทิมทั้งต้นหรือที่เรียกทับทิมทั้งห้าเป็นยาระบาย หรือถ่ายพยาธิเส้นด้ายและตัวตืด เปลือก ราก และเปลือกต้นมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย ใบ ใช้ สมานแผล แก้ท้องร่วง น้ำต้มใบใช้อมกลั้วคอ ทำยาล้างตาดอกใช้ห้ามเลือดเปลือกผลใช้สมานแผล แก้บิด แก้ท้องร่วง ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ด มีวิตามินซีสูงแก้โรคลักปิดลักเปิด และใช้แก้กระหายน้ำ

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Martha Graham ประวัติ ผู้บุกเบิกท่าเต้นรำสมัยใหม่



วันนี้ (11 พฤษภาคม 2554) เป็นวันครบรอบวันเกิดปีที่ 117 ของ Martha Graham นักออกแบบท่าเต้นชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกการเต้นรำสมัยใหม่จบการศึกษาจากโรงเรียนสอนเต้นรำที่ชื่อว่าเดนิสชอว์ ( Denisshaw ) จัดตั้งโดย รู๊ท เซนต์ เดนิส ( Ruth St. Denis )และสามีนักเต้นรำของเธอ เท็ด ชอว์ ( Ted Shawn )ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1914 ที่เมืองซานตา บาบารา รัฐแคลิฟอร์เนียมาร์ธาเกิดในมลรัฐเพนซิลวาเนีย ในครอบครัวของผู้ที่เคร่งในศาสนาคริสต์ฝ่าย โปรแตสแตนต์ ซึ่งใช้การปกครองโดยพระที่มีสมณศักดิ์เท่ากันหมดและเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาในแบบเดียวกันกับคนอังกฤษ ที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของศาสนาทางราชการในสมัยพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ครอบครัวของเธอจึงได้ย้ายมาที่อเมริกา สิ่งนี้เป็นผลสะท้อนเอาความเข้มงวด ความเคร่งขรึมแสดงออกมาในงานของเธอ ความขัดแย้งระหว่างการรับผิดชอบชั่วดี กับความปรารถนาในอารมณ์แฝงอยู่ในงานหลายชิ้นของเธอ เธอได้สอดแทรกเอาอารมณ์ของความร้ายกาจอย่างขมขื่นกับการสะกดกลั้นความรู้สึกอันเกี่ยวข้องในลัทธิความเชื่อส่วนตัวของเธอไว้ในงานของเธออย่างแยบยล และที่สำคัญเธอยังได้พยายามแสดงให้คนดูเห็นหรือบอกความในใจถึงเรื่องจริงในชีวิตของเธอให้ปรากฏออกมาในงาน ซึ่งพ่อของเธอได้ให้คำยืนยันว่าเธอได้กระทำเช่นนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็กแล้ว



มาร์ธา มีความสนใจในการเต้นรำมาโดยตลอดและมีความตั้งใจว่า จะยึดการเต้นรำเป็นอาชีพ เมื่อเธอได้เห็นการแสดงของ รู๊ท เธอจึงสมัตรเข้าเรียนในโรงเรียนสอนเต้นรำของรู๊ททันทีในปี ค.ศ. 1916 ที่โรงเรียนแห่งนี้มีความพิเศษนอกเหนือจากโรงเรียนเต้นรำอื่น ๆ ในเวลานั้นคือมีการนำเอาวัฒนธรรมจากประเทศอื่น ๆ มาผสมผสานให้ออกมามีลักษณะร่วมสมัย เช่นนำสไตล์การเคลื่อนไหว ของ อียิปต์ และ อินเดียมาประยุกต์ให้เป็นท่าทางที่ร่วมสมัย และยังสอนรูปแบบการเต้นทั้งแบบเก่า และใหม่ผสมผสานกัน มาร์ธาใช้เวลาศึกษาการเต้นรำในโรงเรียนเดนิสชอว์แห่งนี้เป็นเวลา 5 ปี จากนั้นเธอจึงหารูปแบบใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเรียนที่โรงเรียนเดนิสชอว์ สร้างสรรค์ให้เป็นรูปแบบการเต้นของเธอเอง เธอได้พัฒนาสไตล์ของเธอเองมาจนถึงจุดหนึ่งที่เธอได้ค้นพบเทคนิค”การยืด” และ “การหด”กล้ามเนื้อ (Contraction and Release ) หลังจากที่เธอได้ตั้งคณะและตระเวนเปิดการแสดงไปทั่วแล้ว ในปี ค.ศ. 1927 เธอได้เปิดโรงเรียนสอนเต้นรำร่วมสมัยของเธอพร้อม ๆ ไปกับคณะการแสดงของเธอซึ่งมีผลงานการแสดงออกมาอย่างต่อเนื่อง มาร์ธา เกรแฮม เป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์โมเดิร์นแดนซ์ แม้มาร์ธาจะเสียชีวิตไปแล้วแต่คณะการแสดงของเธอก็ยังเปิดการแสดงต่อมา ก่อนที่จะปิดตัวลงไปกลายเป็นประวัติศาสตร์ ท่ามกลางความเสียดายของคนทั่วโลก แต่ผลงานของเธอได้ถูกนำไปเผยแพร่อย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้โดยเหล่าลูกศิษย์ของเธอ และศิลปินเหล่านั้นก็ยังคงใช้วิธีการสอนที่ได้ร่ำเรียนมากับเธอต่อมาอีกด้วย เช่น เมิร์ส คันนิ่งแฮม, อีริค ฮอคกินส์, แอนนา ซากาโลว์, พอล เทลเลอร์ หรือแม้แต่นักร้องเพลงป๊อปยอดนิยมของสหรัฐอเมริกาอย่าง มาดอนน่าก็ยังเคยเป็นลูกศิษย์ของมาร์ธา เกรแฮมอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นนักร้องยอดนิยมในภายหลัง มาดอนน่าเคยกล่าวว่า ช่วงเวลาที่ได้อยู่ในคณะเต้นรำของมาร์ธา เกรแฮมเป็นช่วงเวลาที่เธอได้เรียนรู้ถึงระเบียบวินัย และสมาธิในการเคลื่อนไหว ซึ่งเธอได้นำสิ่งที่เธอศึกษามาแสดงออกถึงปรัชญาแห่งการเคลื่อนไหวในการแสดงคอนเสิร์ตของเธอได้เป็นอย่างดีการเต้นในรูปแบบโมเดิร์นแดนซ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ได้มีการสร้างรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในลักษณะของการทดลอง การนำเสนอแนวคิดใหม่ เทคนิคใหม่ เพื่อให้มีรูปแบบการแสดงที่แปลกใหม่อยู่เสมอ ยังมีนักออกแบบท่าเต้นและนักเต้นที่ยิ่งใหญ่อีกมากมายทำการสืบทอดพัฒนาและคลี่คลายรูปแบบการเต้นนาฏศิลป์ร่วมสมัย ไปในทิศทางที่ต่าง ๆ กัน ในประเทศแถบเอเชียเช่นญี่ปุ่น ก็มีรูปแบบการเต้นรำ การเคลื่อนไหวที่พัฒนามาจากนาฏศิลป์ร่วมสมัยในยุคแรก แต่พัฒนารูปแบบเป็นการเคลื่อนไหวที่สัมผัสกันด้วยพลังงานที่อยู่รอบ ๆ ร่างกาย เรียกเทคนิคการเต้นนี้ว่า บุตโต (Bud-toh) ที่ประเทศอินโดนีเซียได้มีการนำเทคนิคศิลปะการต่อสู้ชั้นสูงมาผสมผสานจนเกิดเป็นท่าเต้นในรูปแบบของนาฏศิลป์ร่วมสมัยที่มีชื่อท่าและเทคนิคเป็นท่าเตรียมพร้อมในการต่อสู้ เช่นรำกริช ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นท่าทางเหล่านี้ปรากฏอยู่ในกีฬาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปัญจะสีลัต

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

ลิ้นจี่



ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะและลำไยนั้นเอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว


ลิ้นจี่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงบัญชาให้ทหารม้านำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดิินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ปักกิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

อันตรายของสารกัมมันตรังสี


อันตรายของกัมมันตภาพรังสี และ การแผ่รังสีไม่เป็นที่ทราบในระยะแรก ผลเฉียบพลันของการแผ่รังสีค้นพบในการใช้รังสีเอ็กในขณะที่วิศวกร นิโคลา เทสลา ตั้งใจเอานิ้ววางเพื่อถ่ายรังสีเอ็กในปี พ.ศ. 2439 เขาได้รายงานผลการศึกษาที่ระบุถึงอาการไหม้ที่เกิดขึ้น ซึ่งเข้าระบุว่าเกิดจากโอโซนมากกว่าที่เกิดจากรังสีเอ็ก อาการบาดเจ็บของเขาหายในที่สุด ผลเชิงพันธุกรรมจากการแผ่รังสี รวมถึงโอกาสในการก่อมะเร็ง ค้นพบหลังจากนั้นมาก ในปี พ.ศ. 2470 เฮอร์แมนน์ โจเซฟ มุลเลอร์ (อังกฤษ: Hermann Joseph Muller) เผยแพร่ผลการวิจัยที่แสดงถึงผลเชิงพันธุกรรม และในปีพ.ศ. 2489 เขาได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบนี้ก่อนหน้าที่จะทราบผลทางชีววิทยาของการแผ่รังสี แพทย์ และ บริษัทหลายแห่งได้เริ่มทำตลาดสารกัมมันตรังสีในฐานะของยาเถื่อน (patent medicine - หมายถึง ยาที่ไม่ระบุถึงส่วนผสมไม่มีการจดทะเบียน ไม่มีการตรวจสอบสรรพคุณทางยา เน้นการทำตลาดเป็นหลัก และมักมีการโอ้อวดเกินจริง) และ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารกัมมันตรังสี (radioactive quackery - ใช้คำที่คล้ายคลึงกับยาเถื่อน หรือ ยาปลอม) ตัวอย่างเช่น ยาสวนทวาร (Enema) ที่มีส่วนประกอบของเรเดียม, น้ำที่มีส่วนผสมของเรเดียมที่ใช้ดื่มคล้าย โทนิค (tonic) มารี กูรี ต่อต้านการใช้ในลักษณะนี้ และเตือนเกี่ยวกับผลของรังสีที่มีต่อร่างกายมนุษย์ที่ยังไม่ทราบ (ในที่สุดกูรีเสียชีวิต จากอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ทำงานกับเรเดียม อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบกระดูกของเธอในภายหลัง พบว่าเธอเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ระมัดระวังตัว และพบปริมาณเรเดียมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีการค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตของเธอ ซึ่งเกิดจากการได้รับรังสีเอ็กซ์จากหลอดรังสีที่ไม่ได้มีการป้องกัน ขณะที่เป็นอาสาสมัครในหน่วยแพทย์ ในสงครามโลกครั้งที่1) ในปี พ.ศ. 2473 พบกรณีที่เกิดกระดูกตาย และ การเสียชีวิตจำนวนมากในผู้ใช้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรเดียมแทบจะหายไปจากตลาด

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

เมืองลุงแซม


บ่อยครั้งที่ได้ยินคนใช้คําว่า "ลุงแซม" แทนคําว่าสหรัฐอเมริกา เช่น เมืองลุงแซม มีใครเคยสงสัยไหมว่า "ลุงแซม" น่ะมีตัวตนจริงหรือเปล่าความจริงแล้วเรื่องมันมีที่มาว่า ระหว่างการสงครามเมื่อปี 1812 นายแซมวล วิลสัน แห่งเมืองทรอย นิวยอร์ค เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้บรรจุเนื้อเค็มลงถังส่งไปให้ทหารแนว หน้า ซึ่งก่อนที่จะส่งไปนั้น วิลสัน จําเป็นจะต้องตรวจสอบให้เรียบร้อย ดังนั้น เพื่อแสดงว่าเขาได้ตรวจสอบเนื้อเค็มแล้ว วิลสันได้ประทับอักษร "U.S." ลงบนแผ่นเนื้อ เพื่อระบุว่ามันเป็นของรัฐบาล แต่เพื่อนบ้านของวิลสันผู้ชอบเรียกเขาว่า "ลุงแซม" กลับไปตีความหมายว่าเป็นชื่อย่อของ "Uncle Sam Wilson"หลายปีผ่านไป หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งสร้างรูปการ์ตูนชื่อ "ลุงแซม" เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลอเมริกัน และภาพนั้นก็แพร่หลายยิ่งขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยโชว์รูป "ลุงแซม" ไว้ในดาวและแถบของธงสหรัฐ การ์ตูน ลุงแซมที่ดังมากคือ รูปนิ้วชี้แล้วพูดว่า "ผมต้องการคุณเพื่อนกองทัพบกสหรัฐ"

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

color




Color or colour (see spelling differences) is the visual perceptual property corresponding in humans to the categories called red, green, blue and others. Color derives from the spectrum of light (distribution of light energy versus wavelength) interacting in the eye with the spectral sensitivities of the light receptors. Color categories and physical specifications of color are also associated with objects, materials, light sources, etc., based on their physical properties such as light absorption, reflection, or emission spectra. By defining a color space, colors can be identified numerically by their coordinates.
Because perception of color stems from the varying
spectral sensitivity of different types of cone cells in the retina to different parts of the spectrum, colors may be defined and quantified by the degree to which they stimulate these cells. These physical or physiological quantifications of color, however, do not fully explain the psychophysical perception of color appearance.
The science of color is sometimes called chromatics. It includes the perception of color by the
human eye and brain, the origin of color in materials, color theory in art, and the physics of electromagnetic radiation in the visible range

Physics

Electromagnetic radiation is characterized by its wavelength (or frequency) and its intensity. When the wavelength is within the visible spectrum (the range of wavelengths humans can perceive, approximately from 390 nm to 750 nm), it is known as "visible light".
Most light sources emit light at many different wavelengths; a source's spectrum is a distribution giving its intensity at each wavelength. Although the spectrum of light arriving at the eye from a given direction determines the color
sensation in that direction, there are many more possible spectral combinations than color sensations. In fact, one may formally define a color as a class of spectra that give rise to the same color sensation, although such classes would vary widely among different species, and to a lesser extent among individuals within the same species. In each such class the members are called metamers of the color in question.
Spectral colors
The familiar colors of the rainbow in the spectrum – named using the Latin word for appearance or apparition by Isaac Newton in 1671 – include all those colors that can be produced by visible light of a single wavelength only, the pure spectral or monochromatic colors. The table at right shows approximate frequencies (in terahertz) and wavelengths (in nanometers) for various pure spectral colors. The wavelengths are measured in air or vacuum (see refraction).
The color table should not be interpreted as a definitive list – the pure spectral colors form a continuous
spectrum, and how it is divided into distinct colors linguistically is a matter of culture and historical contingency (although people everywhere have been shown to perceive colors in the same way). A common list identifies six main bands: red, orange, yellow, green, blue, and violet. Newton's conception included a seventh color, indigo, between blue and violet. Optical scientists Hardy and Perrin list indigo as between 446 and 464 nm wavelength.
The intensity of a spectral color, relative to the context in which it is viewed, may alter its perception considerably; for example, a low-intensity orange-yellow is
brown, and a low-intensity yellow-green is olive-green.
For discussion of non-spectral colors, see
below.

Color of objects

The upper disk and the lower disk have exactly the same objective color, and are in identical gray surroundings; based on context differences, humans perceive the squares as having different reflectances, and may interpret the colors as different color categories; see same color illusion.
The color of an object depends on both the physics of the object in its environment and the characteristics of the perceiving eye and brain. Physically, objects can be said to have the color of the light leaving their surfaces, which normally depends on the spectrum of the incident illumination and the reflectance properties of the surface, as well as potentially on the angles of illumination and viewing. Some objects not only reflect light, but also transmit light or emit light themselves (see below), which contribute to the color also. And a viewer's perception of the object's color depends not only on the spectrum of the light leaving its surface, but also on a host of contextual cues, so that the color tends to be perceived as relatively constant: that is, relatively independent of the lighting spectrum, viewing angle, etc. This effect is known as
color constancy.
Some generalizations of the physics can be drawn, neglecting perceptual effects for now:
Light arriving at an
opaque surface is either reflected "specularly" (that is, in the manner of a mirror), scattered (that is, reflected with diffuse scattering), or absorbed – or some combination of these.
Opaque objects that do not reflect specularly (which tend to have rough surfaces) have their color determined by which wavelengths of light they scatter more and which they scatter less (with the light that is not scattered being absorbed). If objects scatter all wavelengths, they appear white. If they absorb all wavelengths, they appear black.
Opaque objects that specularly reflect light of different wavelengths with different efficiencies look like mirrors tinted with colors determined by those differences. An object that reflects some fraction of impinging light and absorbs the rest may look black but also be faintly reflective; examples are black objects coated with layers of enamel or lacquer.
Objects that transmit light are either translucent (scattering the transmitted light) or transparent (not scattering the transmitted light). If they also absorb (or reflect) light of varying wavelengths differentially, they appear tinted with a color determined by the nature of that absorption (or that reflectance).
Objects may emit light that they generate themselves, rather than merely reflecting or transmitting light. They may do so because of their elevated temperature (they are then said to be
incandescent), as a result of certain chemical reactions (a phenomenon called chemoluminescence), or for other reasons (see the articles Phosphorescence and List of light sources).
Objects may absorb light and then as a consequence emit light that has different properties. They are then called
fluorescent (if light is emitted only while light is absorbed) or phosphorescent (if light is emitted even after light ceases to be absorbed; this term is also sometimes loosely applied to light emitted because of chemical reactions).
For further treatment of the color of objects, see
structural color, below.
To summarize, the color of an object is a complex result of its surface properties, its transmission properties, and its emission properties, all of which factors contribute to the mix of wavelengths in the light leaving the surface of the object. The perceived color is then further conditioned by the nature of the ambient illumination, and by the color properties of other objects nearby, via the effect known as
color constancy and via other characteristics of the perceiving eye and brain.




วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของโกโก้


ดื่มโกโก้วันละแก้วสุขภาพดีนอกชาหรือไวน์แดงแล้ว โกโก้ก็อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ไม่แพ้กัน
ผลการศึกษาชิ้นใหม่พบว่านอกจาก ชา หรือไวน์แดง ที่รู้กันดีว่ามีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ หรือสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค รวมถึงยังป้องกันผลกระทบจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ "โกโก้" ที่มีคุณสมบัติมากกว่าเครื่องดื่มเสริมสุขภาพที่ว่ามาเสียอีก

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาศึกษาพบว่า โกโก้ร้อน 1 ถ้วยนั้นอุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มากกว่าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ชา หรือ ไวน์แดง ทั้งนี้ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลการศึกษาหลายชิ้นได้เน้นถึงคุณสมบัติในการเสริมสร้างสุขภาพทีพบใน ชา ไวน์แดง และโกโก้ โดยมีงานวิจัยในจีน ตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วพบว่า คนที่ดื่มน้ำชาเป็นประจำนั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มกว่าครึ่งหนึ่ง

ปีที่แล้ว นักวิจัยในฝรั่งเศสรายงานว่า ดื่มไวน์แดงวันละแก้ว อาจช่วยลดโอกาสความเสี่ยงของโรคหัวใจ และในปี 1998 ได้มีการศึกษากับคนอเมริกันกว่า 8,000 คนพบว่าช็อกโกแลต ซึ่งผลิตมาจากโกโก้ นั้นอาจช่วยให้อายุยืนขึ้น เนื่องจากอุดมไปด้วย โพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยกวาดล้างของเสียที่ผลิตจากร่างกาย โดยของเสียเหล่านั้นมีส่วนทำลายเซลล์ และก่อให้เกิดมะเร็งได้

ในการศึกษาล่าสุดนี้ ดร. ชาง ยง ลี และคณะ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ในนิวยอร์ก ได้ทำการทดสอบโดยวัดระดับสารต่อต้านอนุมูลอิสระใน ชา ไวน์แดง และโกโก้ พบว่าโกโก้ถ้วยหนึ่งนั้นมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากที่สุด โดยมีมากกว่า ไวน์แดง 1 แก้วถึง 2 เท่า มากกว่าชาเขียว 1 ถ้วยถึง 3 เท่า และมากกว่าชาดำถึง 5 เท่าเลยทีเดียว แม้ว่าโกโก้จะถูกนำไปทำเป็นอาหารหลายอย่างรวมทั้ง ช็อกโกแลต แต่นักวิจัยเผยว่า ทางที่ดีที่สุดที่จะได้รับคุณค่าสารอาหารอย่างเต็มที่ ก็คือการดื่มโกโก้ โดยตรง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในช็อกโกแลต 1 แท่งอุดมไปด้วยไขมัน โดยช็อกโกแลตแท่ง ขนาด 40 กรัมนั้นมีไขมันมากถึง 8 กรัม ขณะที่โกโก้ร้อน 1 ถ้วยมีไขมันเพียงแค่ประมาณ 0.3 กรัมเท่านั้น

"แม้เรารู้ว่าสารต่อต้านอนุมูลอิสระนั้นดีต่อสุขภาพของเรามาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าในแต่ละวัน เราต้องการสารนี้กันจำนวนเท่าใด" ดร. ลี กล่าว "แต่กระนั้น โกโก้ร้อน ถ้วยหรือ สองถ้วย ก็ช่วยในด้านของความอร่อย ดื่มแล้วก็ทำให้รู้สึกอุ่น และช่วยเสริมสร้างสุขภาพจากสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้รับอีกด้วย"

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

Valentine's Day.


Historical facts


Numerous early Christian martyrs were named Valentine. The Valentines honored on February 14 are Valentine of Rome (Valentinus presb. m. Romae) and Valentine of Terni (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae).[Valentine of Rome was a priest in Rome who was martyred about AD 269 and was buried on the Via Flaminia. His relics are at the Church of Saint Praxed in Rome,and at Whitefriar Street Carmelite Church in Dublin, Ireland.
Valentine of Terni became bishop of Interamna (modern
Terni) about AD 197 and is said to have been martyred during the persecution under Emperor Aurelian. He is also buried on the Via Flaminia, but in a different location than Valentine of Rome. His relics are at the Basilica of Saint Valentine in Terni (Basilica di San Valentino).
The
Catholic Encyclopedia also speaks of a third saint named Valentine who was mentioned in early martyrologies under date of February 14. He was martyred in Africa with a number of companions, but nothing more is known about him.
No romantic elements are present in the original early
medieval biographies of either of these martyrs. By the time a Saint Valentine became linked to romance in the 14th century, distinctions between Valentine of Rome and Valentine of Terni were utterly lost.
In the 1969 revision of the
Roman Catholic Calendar of Saints, the feastday of Saint Valentine on February 14 was removed from the General Roman Calendar and relegated to particular (local or even national) calendars for the following reason: "Though the memorial of Saint Valentine is ancient, it is left to particular calendars, since, apart from his name, nothing is known of Saint Valentine except that he was buried on the Via Flaminia on February 14."The feast day is still celebrated in Balzan (Malta) where relics of the saint are claimed to be found, and also throughout the world by Traditionalist Catholics who follow the older, pre-Second Vatican Council calendar.

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

น้ำตกที่สูงที่สุดในโลก



น้ำตกแองเจล Angel Falls น้ำตกที่สูงที่สุดในโลก ตั้งอยู่บริเวณประเทศเวเนซูเอลา ทวีปอเมริกาใต้ น้ำตก ที่ถือว่าสวยงามอลังการอีกแห่งของโลก ชื่อเดิมของ น้ำตกแองเจล คือ ชูรันเมรู (Churun Meru) ถูกค้นพบโดย เจมส์ ครอว์ฟอร์ด แองเจล ในปี 1935